ประวัติโรงเรียน
|
กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นโรงเรียนเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 จังหวัดสุรินทร์จึงได้แต่งตั้ง นายอภิชาต อรรถเวทิน ผู้อำนวยการโรงเรียนประสาทวิทยาคาร มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ แต่เนื่องจากนายอภิชาต อรรถเวทิน อยู่ในระหว่างการศึกษาต่อจังหวัดสุรินทร์จึงมีคำสั่งให้ นายบุญชุบ สุจินพรหม ศึกษาธิการอำเภอปราสาทมารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 จังหวัดสุรินทร์ และกรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งให้นายธีระพงษ์ วงศ์ฉลาด ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสังขะ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่จนถึงสิ้นปี 2532 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 จากนั้น นายสุพัฒน์ โพธิสาร อาจารย์ใหญ่โรงเรียนหัวโทนวิทยา จังหวัดร้อยเอ็ด มารักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนโคกยางวิทยา และได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการต่อมาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2539 นางสุพรรณีจันทร ภักดี อาจารย์ใหญ่โรงเรียนตานีวิทยา มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โคกยางวิทยา ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 นายพินิจ ดลเสมอ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหิธรวิทยา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโคกยางวิทยา จนกระทั่งวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 นายเลอสรร ตระกูลเงินไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดไผทประชาสรรค์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโคกยางวิทยา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 นายสมโภชน์ สุขเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนกระเบื้องนอกวิทยา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโคกยางวิทยา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 นายสมชัย นามสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนพระแก้ววิทยา ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกยางวิทยา และเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นายอนันตชัย ชวฤทธิ์เดชา ผู้อำนวยการโรงเรียนสหมิตรวิทยา ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกยางวิทยา จนถึงปัจจุบัน
โรงเรียนโคกยางวิทยาเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนอมรินทราวารี ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลโคกยางเป็นที่เรียนชั่วคราว และในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ได้ย้ายเข้ามาเรียนในพื้นที่ปัจจุบันโรงเรียนเปิดรับนักเรียนสหศึกษาเข้าโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกรมสามัญศึกษา ( ค.อมต.สศ.) รุ่นที่ 3 เมื่อปีการศึกษา 2532 โครงการมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (มพชส.) รุ่นที่ 3 ปี 2533 และโครงการปฏิรูปการศึกษารุ่นที่ 2 ปีงบประมาณ 2540 และผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เมื่อปีการศึกษา 2547 ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษารอบที่ 2 เมื่อปีการศึกษา 2550 ผลการประเมินโดยอิงเกณฑ์อยู่ในระดับดีมาก 1 มาตรฐาน ระดับดี 12 มาตรฐานระดับพอใช้ 1 มาตรฐาน 2547 และผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษารอบที่ 3 เมื่อปีการศึกษา 2555 ผลการประเมินโดยอิงเกณฑ์อยู่ในระดับดีมาก 7 มาตรฐาน ระดับดี 4 มาตรฐาน ระดับต้องปรับปรุง 1 มาตรฐาน (ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขจนผ่านการประเมินเรียบร้อยแล้ว)
|